Views: 2292
Read Time:2 Minute, 50 Second
เจ็บป่วย หาหมอ กลับบ้าน
Day Case คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ต้องรู้!
โรคหรืออาการที่ไม่ต้องรักษาในฐานะผู้ป่วยใน
แต่ให้ถือเสมือนว่าเข้ารักษาในฐานะผู้ป่วยใน
“การตรวจรักษาผ่าตัดหัตถการทางการแพทย์
ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป”
ข้อดี ของเทคโนโลยีที่ทันสมัย
“ทำให้มีความปลอดภัยและลดอาการบาดเจ็บ
กรณี Day Case
ที่จะเข้าเกณฑ์การคุ้มครอง
ประกอบด้วย 21 กรณี
- การสลายนิ่ว
- การจัดกระดูกให้เข้าที่
- การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี
- การเจาะตับ
- การผ่าตัดต้อกระจก
- การเจาะไขกระดูก
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง
- การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง
- การตรวจโดยการส่องกล้อง
- การเจาะเยื่อหุ้มปอด
- การผ่าตัดหรือเจาะไซนัส
- การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก
- การเจาะเยื่อบุช่องท้อง
- การขูดมดลูก
- การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม
- การตัดชิ้นจากปาดมดลูก
- การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก
- การรักษา Bartholin’s Cyst
- การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใดๆ
- การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า
- การตัดนิ้วมือหรือนิ้วเท้า
21 หัตถการ
จึงระบุในกรมธรรม์สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพต่างๆ
รวมอยู่ในการให้ความคุ้มครองเฉพาะ
กรณีการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
และการรักษาในกรณี Day Case 18 กรณี
สำหรับสัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้
กำหนดการใช้สิทธิ์ไว้ 1 วัน เนื่องจากปรกติแล้ว
ผู้ป่วยจะต้องกลับไปพักฟื้นที่บ้านอีก 1 วัน
ข้อยกเว้น สัญญาเพิ่มเติมชดเชยรายได้
กรณีการรักษาซึ่งแพทย์ประเมินว่า
เป็นลักษณะการผ่าตัดเล็ก
ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษา
และกลับมาใช้ชีวิตตามปรกติได้ทันที
กรณีต้องตรวจรักษาตั้งแต่สองครั้งหรือมากกว่านั้น
(ไม่ว่าจะเป็นการเข้ารักษากรณีผู้ป่วยใน
หรือผู้ป่วยนอกตามการผ่าตัดหรือหัตถการ 21 รายการข้างต้น)
การเข้ารักษาด้วยสาเหตุหรือโรคเดียวกัน
โดยระยะเวลาห่างกันแต่ละครั้งไม่เกินกว่า 90 วัน
ก็ให้ถือว่า เป็นการตรวจรักษาครั้งเดียวกันด้วย
ความคุ้มครองตามสิทธิ์ประกันสุขภาพ
แต่ละแบบประกัน ตามที่แต่ละบริษัทออกแบบมานั้น
มีรายละเอียดที่แตกต่างกันค่ะ
นอกเหนือจากความคุ้มครองแล้ว
สิ่งที่ทำให้ผู้ทำประกันสบายใจในการรักษามากขึ้น
คือการเช็คสิทธิ์ความคุ้มครองก่อนเข้าทำการรักษา
เพราะสิ่งสำคัญในการสร้างความคุ้มครอง คือ
การดูแลในเวลาที่เกิดภัย อุ่นใจกับความครอบคลุม
ดังนั้น นอกเหนือจากการพิจารณาแบบประกัน
สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ
“ระบบการเคลมหรือการพิจารณาสินไหม” นั่นเองค่ะ
เสน่ห์ของการ “Protection” หรือ “การป้องกัน” คือ
ทำแล้วเหมาะสม เพียงพอ ทราบว่าคุ้มครองอย่างไร
เพราะประกันมีไว้ ไม่ได้ใช้
ดีกว่าจำเป็นต้องใช้และไม่มี
ทำแล้วแต่มี “รุ่นแรก” “ไม่พอกับการดูแลในปัจจุบัน”
การทบทวนกรมธรรม์จึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่ต่างกันค่ะ
ควรศึกษาข้อมูลข้อตกลงสัญญากรมธรรม์
พิจารณาทุกครั้งก่อนตัดสินใจทำประกันค่ะ
ปรึกษารายละเอียดการสร้างความคุ้มครอง
บัญชีทางการไลน์ : @onenut.lifeplanner
(อย่าลืมพิมพ์ @ ด้วยนะคะ)

ชีวิตดี มีแพลน

ที่ปรึกษาประกันชีวิต MTLP6 (53)
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
เลขที่ใบอนุญาต 6301025087